วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดหลักทฤษฎีการสื่อสารกับเทคโนโลยี 10 ข้อ


แบบฝึกหัด
1. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
        ตอบ         4   ประเภท
                  - สื่อโสตทัศน์
                  - สื่อมวลชน
                  - สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม รวมคอมพิวเตอร์
                  -สื่อที่เป็นแหล่งวิทยาการ เช่น หอสมุด ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

 2.  ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงหาภาพประกอบ
ตอบ 3   ประเภท

1.  สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย  (projected aids)











 2.   สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย   (nonprojected aids)















3.   สื่อประเภทเครื่องเสียง   (Audio aids)














3. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์ เป็นของนักการศึกษาท่านใด และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรมโดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใดจงอธิบาย
ตอบ เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้ และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยพัฒนาความคิดของ Bruner ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา นำมาสร้างเป็น “” (Cone of Experiencess) โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1) ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น
2) ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้
3) ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น
4) การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5) การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น
6) นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด
7) โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน
8) ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
9) การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้
10) ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่างๆ
11) วัจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด

4. การสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ   เป็นกระบวนการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนเรื่องราว  ความต้องการ  ความคิดเห็น  ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับ ผ่านสื่อ  ช่องทาง
5. สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์ประกอบใด จงอธิบาย
ตอบ   ในองค์ประกอบของ ของการสื่อสาร เพราะ  สื่อและเทคโนโลยีการศึกษานั้น เป็นตัวกลางที่ช่วยถ่าย
ทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน


6. จงเขียนแบบจำลองของการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล มาพอเข้าใจ











ตอบ     

ผู้ส่ง (Source)  ->   ข้อมูลข่าวสาร(Message)  ->  ช่องทาง (Channel) ->  ผู้รับ (Receiver) ทักษะในการสื่อสาร
      
     7. อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ   1.  คำพูด (Verbalisn)
          2.  ฝันกลางวัน (Day Dreaming)
          3.  ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง (Referent Confusion)
         4.  การรับรู้ที่จำกัด (Limited Perception)
         5.  สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย (Physical Discomfort)
         6.  การไม่ยอมรับ (Inperception)

8. บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ สื่อระหว่างบุคคล คือผู้เรียนกับผู้สอน

9. ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวีดิทัศน์กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล









10. การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด
ตอบ การสื่อสารเเบบกลุ่มใหญ่  (Large group Communication)


วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทความที่ 1 ความใฝ่ฝันกับการเรียนเทคโนโลย


ยุคนี้ใครไม่สนใจหรือไม่พูดถึงเรื่องการปฏิรูปการศึกษาดูจะเป็นเรื่องแปลก กระแสเรื่องการปฏิรูปกำลังมาแรง ไม่แตกต่างกับกระแสอื่นๆที่เคยผ่านมาสู่ประเทศนี้เรื่องแล้วเรื่องเล่า แต่ละเรื่องที่ผ่านมาทำให้พวกเราตื่นเต้นหรือบางคราวถึงขั้นโกลาหล อลหม่านก็มาก แล้วผลสุดท้ายได้ทิ้งอะไรที่เป็นแก่นสารสาระ มีผลในทางสร้างสรรค์ อย่างยั่งยืนมากน้อยเพียงใดไว้บ้างก็คงเป็นที่ทราบกันดี
            กระแสที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา จนถึงขั้นมีการตรากฏหมายที่เลิศหรูออกมาเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นั้นมีหลายอย่าง แต่ที่โดดเด่นที่สุดน่าจะเป็นด้วยความตกต่ำอย่างน่าใจหายในเรื่องคุณภาพการจัดการศึกษาของชาติ ผลผลิตที่ออกมาในทุกระดับอยู่ในอาการน่าเป็นห่วง มีตัวเลขสถิติมากมาย ที่บ่งชี้ความอ่อนด้อยดังกล่าว แต่จะไม่นำมาขอกล่าวอ้างในที่นี้ 

            ขอวิเคราะห์แบบไม่เกรงใจว่า การศึกษาของชาติอยู่ในอาการร่อแร่ ถ้าเป็นคนก็น่าจะกำลังคลานอยู่ ไม่มีแม้แต่เรี่ยวที่จะลุกขึ้นยืนให้ตัวตรง ไม่เป๋ซ้ายป่ายขวา ยังไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องที่จะเรียนรู้การก้าวเดินอย่างช้าๆ เดินเร็วขึ้นหรือการวิ่งตามใครเพราะมันดูจะไกลเกินไป แต่กระนั้นก็ตาม สาระที่ปรากฏใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน เป็นความใฝ่ฝันที่สดสวยและสูงส่ง คล้ายๆกับจะให้คนบินหรือเหาะได้เลยทีเดียว ลองคิดดูเถิดว่าคนที่กำลังคลานถูกคาดหวังให้บินได้จะเกิดความทุกข์วิตกกังวลและโกลาหลเพียงใด ปรากฏการณ์หลายอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในโรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆทั่วประเทศขณะนี้คือคำตอบที่ค่อนข้างชัดเจน มองในแง่ดีดูเหมือนว่าทุกฝ่ายกำลังเคลื่อนไหว เพื่อปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การศึกษาของชาติ แต่นั่นเป็นภาพที่มองเห็นจากระยะไกลๆ ถ้าลองเข้าไปสังเกตใกล้ๆว่าเขากำลังเคลื่อนไหวทำอะไรเพื่ออะไรกันอยู่ รู้แล้วอาจสะดุ้งหลายตลบก็ได้ รายละเอียดมีมากมาย หาคำตอบได้ไม่ยากเลย

            ผู้เขียนสนใจทุกๆเรื่องทุกๆปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา เพราะไม่เคยเห็นด้วยกับการคิดทำอะไร แบบแยกส่วน คิดไปทำไปโดยไม่สนใจสิ่งที่เป็นองค์รวม หรือความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยทั้งหลายเหล่านั้น เพราะตัวอย่างของความล้มเหลว เละเทะอันเกิดจากเหตุดังกล่าวมีให้เห็นจนชินตาอยู่ทั่วไป ถ้าจะนำเสนอความคิดเห็นต่อทุกเรื่องทุกปัจจัย ก็อาจกลายเป็นนิยายเรื่องยาวได้หนึ่งเรื่องเลยทีเดียว จึงขอตัดประเด็นที่จะนำมาวิเคราะห์ตีแผ่ให้เด่นชัดเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องเทคโนโลยี ซึ่งตาม พรบ.ใช้คำว่า “เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา”

            ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีข้อความที่บ่งบอกถึงการให้ความสำคัญและส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างชัดเจน รวมทั้งเน้นให้เป็นไปอย่างเสรี ถ้ามองในแง่บวกก็จะเป็นเรื่องน่าพอใจ เพราะใครต่อใครต่างก็เข้าใจและเชื่อมั่นในศักยภาพและพลังของสิ่งที่เรียกว่าเทคโนโลยี มีตัวอย่างที่ผู้เขียนเองก็สามารถนำเสนอเป็นเครื่องสนับสนุนความจริงดังกล่าวได้มาก แต่ในที่นี้จะขอละไว้ในฐานะที่พูดถึงกันมากอยู่แล้ว ในทางกลับกันจะขอมองในมุมลบบ้าง เพราะการมองเทคโนโลยี ซึ่งเป็นดาบหลายคมนั้น ถ้ามองไม่ครบถ้วนเห็นไม่ชัดเจนทั่วถึงตามที่เป็นจริง ศักยภาพอันสูงยิ่งของเทคโนโลยี ก็จะเป็นเครื่องทำลายล้างสิ่งที่ดีๆที่เรามีอยู่ได้อย่างรวดเร็วและมากมายได้เช่นกัน

            เทคโนโลยีสมัยใหม่ (Advanced Technology) โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่า IT (Information Technology) เป็นสิ่งที่พูดถึงกันมาก ว่าจะช่วยให้การพัฒนา หรือ การปฏิรูปการศึกษาสำเร็จเป็นจริงขึ้นมาได้ อยากให้ทบทวนดู ว่าเทคโนโลยีคืออะไร เกิดขึ้นอย่างไร พัฒนามาอย่างไร และแนวโน้มหรือทิศทางของมันจะเป็นแบบไหนต่อไป

            ถ้าย้อนไปถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป การคิดค้นเทคโนโลยีเช่นเครื่องจักรกลต่างๆก็เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้มนุษย์ทำงานได้สะดวกสบายมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตของระบบอุตสาหกรรมออกมามากจนล้นเหลือ ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่สูงขึ้นก็ยิ่งทำให้ผลผลิตซึ่งมีรากเหง้ามาจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของโลก ไม่ว่าจะมาจากภูมิภาคใดก็ตาม มีปริมาณมากเกินความจำเป็นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ กระบวนการแห่งการยัดเยียดความจำเป็นปลอมๆให้กับมนุษย์ด้วยกันก็เกิดขึ้นและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ผ่านระบบการสื่อสารที่รวดเร็วและทันสมัย เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ยั่วยุ กระตุ้น โดยอาศัยจุดอ่อนและปมด้อยของคนส่วนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมักจะหวาดกลัวและสะดุ้งได้ง่ายมากเมื่อถูกมองหรือกล่าวหาว่าเชย ล้าหลัง หรือไม่ทันสมัย เมื่อถูกยั่วยุก็จะรีบดิ้นรน แสวงหา ไขว่คว้าผลผลิตอันหลากหลายของระบบอุตสาหกรรม มาบริโภคหรือครอบครองกันได้ง่ายมาก มีการแข่งขันกันด้วย แข่งขันกันเป็นผู้บริโภค ซึ่งหลายครั้งบริโภคมากและเร็วกว่าเจ้าของเทคโนโลยีเสียอีก ใช้สติปัญญากันหรือไม่แค่ไหน ก็ให้ลองไตร่ตรองกันดูเถิด

            เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งทั่วไปจะหมายถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ต จะเห็นได้ว่ามีการบ่งชี้คุณประโยชน์และบทบาทที่จะมีต่อการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นอันมาก แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง หากมองย้อนหลังสักหน่อย จะพบว่าเราเริ่มจาก การไม่มี อยากมี แล้วได้มี ติดตามด้วยใช้ไม่ค่อยเป็น แล้วก็ใช้เป็นกันมากขึ้น แต่ได้ประโยชน์ มีแก่นสารสาระหรือไม่เป็นเรื่องน่าคิด ส่วนมากจะเข้าลักษณะใช้เป็น แต่ไม่ค่อยได้ประโยชน์ ดูที่กลุ่มเยาวชนของชาติก็แล้วกันว่าเขากำลังทำอะไรกันอยู่กับอินเตอร์เน็ต เสียเวลาและทรัพยากรไปเท่าไร และได้อะไรตอบแทนกลับมา ส่วนมากจะเข้าข่ายไร้สาระใช่หรือไม่ ยุคนี้จึงเริ่มคิดอ่านกันมากว่าจะทำอะไรหลายอย่างให้คนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวได้มากขึ้น มีการสืบค้นสาระความรู้จากอินเตอร์เน็ต มีการส่งเสริมเติมความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อจะช่วยให้การแสวงหาความรู้หรือการสืบค้นข้อมูล เป็นไปอย่างคล่องตัวทั่วถึง ภาพที่นักเรียนนักศึกษาหรือคนไทยทั่วๆไปนั่งกดปุ่มสืบค้นความรู้อันมากมายมหาศาล อยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจทำให้หลายคนปลื้มใจพอใจ แต่สำหรับผู้เขียนมีความคิดอีกอย่างแทรกเข้ามาและคิดว่าน่าสนใจนั่นคือ ตัวความรู้ที่หลงสืบค้นแสวงหากันอยู่นั้นเป็นความรู้ประเภทไหน จะนำมาใช้ประโยชน์แก้ปัญหาของตนและสังคมได้หรือไม่และเมื่อไร มีไม่น้อยที่เป็นการแสวงหาความรู้ของผู้อื่นอย่างเมามันและอาจถึงขั้นไร้เป้าหมาย เพราะเสน่ห์อย่างหนึ่งของอินเตอร์เน็ตคือการเชื่อมโยงต่อไปได้แบบไร้จุดจบและแสนสะดวกง่ายดาย เรียกได้ว่าเป็นสื่อมหัศจรรย์ชนิดหนึ่งเลยทีเดียว

บทความที่ 2 ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยี









ความหมายของ นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา

ความหมายของนวัตกรรม

“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)

คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator)





ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา มีอยู่หลายทัศนะ ดังต่อไปนี้

องค์กรร่วมสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา ประเทศอังกฤษ (Council for Educational Technology for the United Kingdom - CET) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึงการพัฒนาการนำไปใช้และการประเมินระบบ วิธีการดำเนินงาน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อทำให้การเรียนรู้ของคนเราให้ดีขึ้น"

ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น โดยครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์หรือเครื่องมือ วิธีการ

ดร. เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ

ศูนย์บทเรียนโปรแกรมแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (National Centre for Programmed Learning , UK) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ และเงื่อนไขของการเรียนรู้ มาใช้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอนและการฝึกอบรม แต่ถ้าหากปราศจากหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว เทคโนโลยีทางการศึกษาจะแสวงหาวิธีดำเนินการโดยการทดลองเพื่อเสริมสร้างสถานภาพองการเรียนรู้ให้ดีขึ้น"

คณะกรรมาธิการสาขาเทคโนโลยีการสอน ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Commission on Instructional Technology . USA) ได้อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือการนำแนวความคิดที่เป็นระบบไปใช้ในการออกแบบ ดำเนินการ และประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งกระบวนการในรูปของวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสื่อความหมายของมนุษย์เรา อีกทั้งนำเอาทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่น ๆ มาผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการเรียนรู้ที่สูงยิ่งขึ้น"

Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุตามแผนการ

ครรซิต มาลัยวงษ์ กล่าวว่า "การใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการศึกษา ก็คงจะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ส่วนผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม อาจเรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมองว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการใช้เทคโนโลยีลักษณะเดียวกัน แต่มีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน"

ชัยยงค์ (2523) อธิบายถึง เทคโนโลยีทางการศึกษาไว้อย่างละเอียดว่า "เทคโนโลยีเป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ (วัสดุ) และผลิตกรรมของวิศวกรรม (อุปกรณ์) โดยยึดหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทั้งในด้านบริหารด้านวิชาการ และด้านบริการ" หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงระบบการศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น วัสดุ (Material) หมายถึงผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่มีการผุผังสิ้นเปลืองได้ง่าย เช่น ชอร์ค ดินสอ ฟิล์ม กระดาษ ส่วนอุปกรณ์ (Equipment) หมายถึงผลิตกรรมทางวิศวกรรมที่เป็นเครื่องมือค่าง ๆ เช่น โต๊ะกระดานดำ เก้าอี้ เครื่องฉาย เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ และวิธีการ (Technique) หมายถึงระบบ กระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา หลักสังคมวิทยา ภาษา ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการศึกษา เช่น การสาธิต ทดลอง กลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้น

จากความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามที่กล่าวมานั้น ต่างเน้นให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า บทบาทและหน้าที่หลักของเทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การพัฒนาประสิทธิ์ผลของกระบวนการของการเรียนรู้


ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วยการแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของชาวกรีก และโรมันโบราณ ยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย การสอนศิลปวิจักษ์ ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และแกะสลักช่วยสอนแล้ว คนสำคัญ ๆ ของกรีกและโรมันสมัยนั้น ต่างเห็นความสำคัญของทัศนวัสดุในการสอน ว่าทัศนวัสดุช่วยการปาฐกถาได้มาก

เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น

โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos comenius ค.ศ. 1592 - 1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจังจนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา ท่านผู้นี้เป็นพระในนิกายโปรแตสแตนท์ ในตำแหน่งสังฆราชแห่งโมราเวีย เยอรมัน ท่านมีแนวคิดในเรื่องวิธีการสอนใหม่ โดยได้ย้ำความสำคัญของสิ่งของ ของจริง ในการสอน และได้รวบรวมหลักการสอนจากประสบการณ์ที่ทำการสอนมาถึง 40 ปี คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือโลกในรูปภาพ ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1685 เป็นหนังสือที่ใช้มากและมีอิทธิพลมาก ใช้รูปภาพเป็นหัวใจของเรื่องมีรูปภาพประกอบการเรียนถึง 150 รูป บทเรียนบทหนึ่ง จะมีรูปภาพประกอบรูปหนึ่ง เรื่องต่าง ๆ ที่มีในหนังสือ เช่น พระเจ้า สวรรค์ อากาศโลก ต้นไม้ เป็นต้น

ธอร์นไดค์ นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา เขาได้เริ่มสร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสัตว์ ในชณะที่เขายังเป็นนักศึกษาอยู่ ต่อมาได้ร่วมเป็นอาจารย์สอน ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี 1898 และได้ใช้ชีวิตเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เบื้องต้นการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ ในปี ค.ศ. 1912 เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรม จึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่

บี เอฟ สกินเนอร์ เป็นผู้ใช้แนวคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติ ของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้นๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง ในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอน ได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก

แนวคิดทางการศึกษาของบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ พัฒนาไปพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าทางสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ ที่ส่งผลให้เทคโนโลยีการศึกษาเจริญก้าวหน้า เช่น การผลิตกระดาษ การพิมพ์ การถ่ายภาพ การฉายภาพ การบันทึกเสียง วิทยุ-โทรทัศน์ การบันทึกภาพ จนถึงยุคคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน



เทคโนโลยีก่อประโยชน์แก่ระบบการศึกษามากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาสามารถเร่งอัตราการเรียนรู้ให้เร็วขึ้น ลดภาระทางด้านการบริหารของครูและยังทำหน้าที่แทนครูในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือข่าวสารประจำวันต่าง ๆ

เทคโนโลยีเน้นการศึกษาไปสู่ความเป็นส่วนบุคคลมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมนั้นเป็นการขยายขอบเขตของการเรียนรู้ออกไปได้อย่างกว้าง

เทคโนโลยีทำให้การสอนมีพลังยิ่งขึ้น ระบบการสื่อสารในปัจจุบันได้ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนเรา ดังนั้นสื่อการสอนในยุคใหม่นี้จึงสามารถจำลองสถานการณ์จริง ช่วยร่นระยะทางและเหตุการณ์ที่อยู่คนซีกโลกมาสู่นักเรียนได้

เทคโนโลยีทำให้การเรียนเป็นไปอย่างฉับพลันยิ่งขึ้น เทคโนโลยีการสอนเปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างที่อยู่ภาย นอกโรงเรียนและโลกที่อยู่ภายในโรงเรียน
เทคโนโลยีสามารถทำให้เกิดความเสมอภาคของการศึกษามากขึ้น
ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้ทุกหนแห่ง เทคโนโลยีพร้อมที่จะหยิบยื่นความรู้ให้แก่ทุกคนเสมอ


Technology in education (หรือ Tools technology)
Technology in education หมายถึงวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการนำเสนอเนื้อหาสาระทางการศึกษาหรือการฝึกอบรม ได้แก่ โทรทัศน์ ห้องปฏิบัติการภาษา เครื่องฉายประเภทต่าง ๆ ( หรือที่เรียกว่า สื่อการสอน)

Technology of education (หรือ System technology)
Technology of education หมายถึง เป็นการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อักทั้งวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สาขาวิชานี้ได้กล่าวถึงการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อักทั้งบรรดาวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวมีจุดประสงค์หลายประการด้วยกัน เช่น


เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพของการเรียน และผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้

ลดเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ให้น้อยลง

เพิ่มประสิทธิภาพของผู้สอนให้มีความสามารถต่อการสอนผู้เรียนที่มีปริมาณมากขึ้นโดยที่ไม่ทำให้ การ เรียนรู้ด้อยคุณภาพลง

ลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง โดยไม่กระทบกระเทือนคุณภาพของการเรียน


เทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งหมายถึง การ เทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษาที่กล่าวถึงกันส่วนใหญ่ จึงเป็นเรื่องของ เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน

ในการเรียนการสอน หรือการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้น เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เทคนิคและวิธีการมากมาย ไม่มีเทคนิคหรือวิธีการใดที่เราจะยอมรับกันได้ว่า ดีที่สุดสำหรับการเรียนการสอน เทคนิคและวิธีการแต่ละอย่างก็มีความเหมาะสมตามสภาพการณ์และเนื้อหาวิชาที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็เป็นที่ยอมรับ กันโดยทั่วไปว่า การเรียนการสอนที่มีวัสดุอุปกรณ์ตลอดจน เครื่องมือ วิธีการ ช่วยอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ มากกว่าการเรียนการสอน โดยให้นักเรียนฟังแต่เพียงคำพูด แต่เพียงอย่างเดียว

แนวโน้มของการศึกษาในปัจจุบัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์อย่างกว้างขวาง แทนการฟังแต่เพียงคำบอกเล่าของครู ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากจำนวนผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของสาขาวิทยาการต่าง ๆ ทำให้สิ่งที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้มากขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางให้ผู้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด โดยใช้เวลาในการเรียนน้อยกว่าเดิม

การเรียนการสอนที่ปฏิบัติได้จริง ส่วนใหญ่ เราไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรง ให้กับผู้เรียนได้ทุกเนื้อหาเนื่องจากอาจมีข้อจำกัดบางประการณ์ เช่น


ต้องลงทุนมาก

ต้องใช้เวลานานมาก อาจเป็นหลายวัน หลายปีหรือปลายร้อยปี

มีความยุ่งยากซับซ้อนมาก

ความรู้บางอย่างไม่อาจสัมผัสได้โดยตรง

ดังนั้น นอกเหนือจากการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงแล้ว เรายังมีความจำเป็นต้องจัดประสบการณ์อย่างอื่นให้ผู้เรียนได้รับ แทนประสบการณ์ตรงด้วย เช่น การใช้รูปภาพ หนังสือ แผนภูมิ วิทยุโทรทัศน์ วิธีการอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อให้ผลผลิตทางการศึกษามีคุณภาพสูงสุด

การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่มีการใช้สื่อการเรียนการสอน ครูมักเน้นหนักที่การใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นสำคัญ ซึ่งไม่อาจรับรองหรือเชื่อถือได้ว่าจะบรรลุจุดประสงค์ทั้งนี้เพราะการใช้วัสดุอุปกรณ์กับครู ซึ่งมีชีวิต จิตใจ มีอารมณ์ มีสภาพแวดล้อม ไม่คงที่ จำเป็นจะต้องปรับกระบวนการในการใช้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ วิธีการกระบวนการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ จะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งก็คือการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษานั่นเอง



การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นผลมาจากองค์ประกอบ 3 ประการ


ปัญหาหรือวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และแนวโน้มของปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

เอกลักษณ์ ค่านิยม และเจตคติในปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้ม

ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีขึ้นในอนาคต

มิลเลอร์ (Willam C. Miller , 1981 อ้างจาก ครรซิต มาลัยวงษ์ 2540 : 39) สรุปว่าการศึกษาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปดังนี้


จัดเป็นการศึกษาในระบบน้อยลง

ค่าใช้จ่ายจะต้องถูกลง

สอนเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์มากขึ้น

สอนเป็นระบบรายบุคคลมากขึ้น

สอนในเรื่องที่เห็นจริงเห็นจังมากขึ้น

สอนเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ธรรมมากขึ้น

บทเรียนสนุกสนานมากขึ้น

เป็นการเรียนตลอดชีวิต